วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ทริปเล็กๆ>>Google Translate !@#$%


Google Translate



             ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดีเมื่อ Google ได้ทำการเปิดตัวGoogle Translate ในภาคของการแปล ภาษาไทย-อังกฤษ ทำให้ผู้ใช้งานสามารถ แปลภาษาจากไทยเป็นอังกฤษ หรืออังกฤษเป็นไทย ได้อย่างง่ายดาย ซึ่งข้อดีของGoogle Translate ภาค ไทย-อังกฤษ ก็มีไม่น้อยเลยทีเดียว 


สาเหตุที่เลือก Application
       ในปัจจุบัน เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้กับเรานั้นมีมากมาย ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ การแปลภาษา เมื่อก่อนนั้น หากเราต้องการใช้งานเกี่ยวกับโปรแกรมการแปลภาษา จากภาษาไทย < – > ภาษาอังกฤษนั้นหาได้ยากเหลือเกิน เนื่องจากไม่ค่อยมี Software ที่ จะพัฒนามาเพื่อคนไทยอย่างสมบูรณ์ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การใช้งานอินเตอร์เน็ทของคนไทยไม่ว่าจะเป็นการ หาข้อมูลหรือข่าวสารนั้นมีขีดจำกัด


ข้อดีของ Google Translate

1. ไม่เสียค่าใช้จ่าย เพราะเดิมการที่จะหาโปรแกรมในการแปลภาษา ไทย-อังกฤษ (สำหรับการแปลเป็นประโยค) นั้น ส่วนมากจะเป็น Software ที่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งการมาของ Google Translate ทำให้การแปลภาษาเป็นเรื่องง่ายและเข้าถึงกลุ่มคนได้อีกมากมาย
2. สามารถแปลได้ทั้ง Website หรือ ประโยคข้อความใดๆ ก็ได้ หากต้องการแปลทั้ง Website ก็เพียงแค่พิมพ์ URL ของเว็ปไซต์ที่เราต้องการแปลเท่านั้นเอง ส่วนการแปลประโยคหรือข้อความก็สามารถใช้คำสั่ง Copy + Paste แค่นั้น
3. หากท่านเป็นเจ้าของ Website ท่านสามารถนำ Code ของ Google Translate ไปวางที่ website ของท่านเพื่อให้ Website ภาษาไทยของท่านสามารถแปลภาษาได้หลากหลายภาษา (เหมือนดังที่ www.manacomputers.com ใช้อยู่)
ข้อเสียของ Google Translate

การใช้ประโยชน์จากสิ่งใดๆ นอกจากข้อดีมากมายแล้วทุกสิ่งย่อมมีข้อบกพร่องทั้งสิ้น รวมทั้ง Google Translate ก็เช่นกัน เนื่องจากคำแปลที่ได้มานั้นสร้างขึ้นจากคอมพิวเตอร์ จึงอาจไม่สมบูรณ์แบบเสมอไป ยิ่งมีเอกสารในภาษาหนึ่งๆ ที่แปลโดยมนุษย์มาให้ Google แปลเอกสารวิเคราะห์มากเท่าใด คุณภาพของการแปลก็จะยิ่งดีขึ้นเท่านั้น นี่เป็นเหตุผลว่าบางครั้งทำไมความถูกต้องของการแปลจึงแตกต่างกันไปในแต่ละภาษา รวมทั้งความสละสลวยในการเรียบเรียงถ้อยคำก็ยังต้องอาศัยการตรวจทานจากมนุษย์ช่วยด้วย



       หากท่านต้องการที่จะใช้ Google Translate (แปลภาษา) ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด เราขอแนะนำวิธีการดังต่อไปนี้

1. หากต้องการแปล ประโยคยาวๆ เราขอแนะนำให้ ลองทำการแปลที่ละประโยค หรือทีละย่อหน้าก่อน
2. หากต้องการแปลไทยเป็นอังกฤษ พยายามตัดคำฟุ่มเฟือยออกไป เช่นคำว่า จ้ะ นะ ครับ จัง เพราะบางครั้ง Google Translate จะรวมคำเหล่านี้เข้ามาในการแปล ทำให้โอกาสในการแปลนั้นผิดพลาดสูง
3. อีกกรณี หากแปลไทยเป็นอังกฤษ หาคำหรือประโยคที่ออกมานั้นดูไม่ค่อยเข้าที ลองเปลี่ยนคำที่ใกล้เคียง แล้วลองเปลี่ยนดูจนได้คำที่เหมาะสม
4. หากต้องการแปลคำศัพท์หลายๆ คำ ให้ทำการพิมพ์คำที่ต้องการแปล 1 คำ ต่อ 1 บรรทัด การแปลจะให้ผลที่ดีกว่า พิมพ์หลายๆคำ ลงในบรรทัดเดียวกัน
5. อย่าลืมที่จะคำนึงถึง คำศัพท์เฉพาะ คำศัพท์ในวงการ หรือคำแสลงใดๆ ก็ตาม เพราะบางที Google Translate อาจให้ความหมายที่ไปคนละทางเลยก็ได้
6. คำหนึ่งคำอาจมีความหมายหลากหลายรูปแบบ อย่าลืมที่จะดูคำที่ Google Translate แปลให้เพิ่ม โดยจะอยู่ใต้คำแปลหลัก เช่นคำว่า ลือ จะแปลได้ว่า Propagate. แต่ก็จะมีคำอื่นที่ใกล้เคียงกันเช่น spread widely , make known , circulate , broadcast, disseminate ,propagate
7. ไม่ ว่าคุณจะแปลไทยหรืออังกฤษ ให้ลองเปรียบเทียบประโยคก่อนแปลและหลังแปลดูก่อน อย่าเอาประโยคที่ได้ทำการแปลนั้นไปใช้ทันที ตรวจทานเรื่องคำดูอีกสักครั้ง ลองปรับบางคำเพื่อให้เหมาะสมกับประโยคนั้นมากที่สุดดูก่อน


วิธีการใช้งาน
ต้องการแปลคำว่า เภสัชศาสตร์จากภาษาไทย เป็นภาษาอิตาลี ก็พิมพ์ที่ต้องการแปลลงในกรอบ กดตรงคำว่า "แปล"ก็จะได้เป็นคำว่า “Farmacia ”  ซึ่งนอกจากจะแปลคำศัพท์ได้แล้ว ยังสามารถ ฟังการออกเสียงได้อีกด้วย













จุดเด่นของ Application



-       สามารถใช้งานรวมกับโปรแกรมอื่นๆ ในคอมพิวเตอร์ของเรา เช่น Microsoft Word, Microsoft Excel เป็นต้น (เวลาที่เราเปิดโปรแกรมเหล่านี้ เราจำเป็นต้องสั่งโปรแกรมให้ใช้งานร่วมกับโปรแกรมเหล่านี้ โดย ให้คลิกที่ไอคอน "G" ที่ Taskbar จากนั้น เลือกคำว่า "
Enable in ... .ชื่อโปรแกรมนั้นๆ ด้วย
หลังจากเลือกการแปลแล้ว สามารถ copy ข้อความที่แปลแล้วไปใส่ในเอกสารต่างๆ ได้ด้วย?




โปรแกรมที่มีการใช้งานคล้ายๆกับ Google Translate 
        ที่เลือกมา คือ e-Dic (สุดยอด โปรแกรม แปลภาษา สำหรับ นักท่อง Internet ชาวไทย


e-Dic (สุดยอด โปรแกรม แปลภาษา) : สำหรับโปรแกรมนี้ก็ประกอบด้วย ส่วน ...
                                                                                          
ส่วนแรก - เป็นโปรแกรมเหมือนกับ Internet Explorer (IE) ใช้เปิดเข้าหน้า Homepage ตามWeb ต่างๆ ถ้าเลือนเมาส์ไปวางบนคำที่เป็นภาษาอังกฤษจะปรากฏความหมายที่เป็นภาษาไทย

ส่วนที่ 2 - เนื่องจากส่วนแรกเปิดได้เฉพาะไฟล์ที่เป็น HTML (Hypertext Mark-up Language)ตาม Server ที่ต่างๆ จึงมีส่วนนี้ที่ใช้เปิดไฟล์ที่เป็น TXT จากไฟล์ต่างๆในเครื่องขึ้นมา ถ้าเลื่อนเมาส์ไปวางคำที่เป็นภาษาอังกฤษก็จะปรากฏความหมายที่เป็นภาษาไทยเหมือนกัน ส่วนอีกช่องทางขวาทำไว้เพื่อพิมพ์ประโยคภาษาไทย


ส่วนที่ 3 - เป็นโปรแกรม Dictionary เหมือนปกติทั่วๆ ไปละครับ ใส่คำที่ต้องการ แล้วจะปรากฏความหมายขึ้นมา

วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เว็บไซต์ยอดนิยม 5 อันดับ


เว็บไซต์ยอดนิยม 5 อันดับ














ประวัติคอมพิวเตอร์ในประเทศไทย


         ประวัติคอมพิวเตอร์ในประเทศไทย

 ประวัติคอมพิวเตอร์ในประเทศไทย

              คอมพิวเตอร์ในประเทศไทย เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2506 โดยเริ่มใช้ในการศึกษา วิจัย เครื่องที่ใช้ ครั้งแรกคือ เครื่อง IBM 1620 ซึ่งติดตั้งที่คณะ
              พาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย และใช้ในการทำสำมะโนประชากร โดยใช้เครื่อง IBM 1401 ซึ่งติดตั้งที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ
              ผู้ที่ริเริ่มนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในประเทศไทยคนแร
ก คือ ศาสตราจารย์บัณฑิต กันตะบุตร หัวหน้าภาควิชาสถิติและเลขาธิการสถิติแห่งชาติจากนั้นมา เครื่องคอมพิวเตอร์ก็มีใช้ในประเทศไทย ตามลำดับดังนี้ 
              

        IBM 1620                                        IBM 1401

          พ.ศ. 2507 : ได้นำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานธุรกิจขนาดใหญ่ คือ บ.ปูนซีเมนต์ไทย  และ ธนาคารกรุงเทพ
          พ.ศ. 2517 : ได้นำคอมพิวเตอร์ไปใช้งานที่ตลาดหลักทรัพย์ ในด้านการซื้อขาย โดยใช้ มินิคอมพิวเตอร์ 
          พ.ศ. 2522 ได้นำ ไมโครคอมพิวเตอร์ ไปใช้ในธุรกิจขนาดเล็กมากขั้น
          พ.ศ. 2525 ได้นำคอมพิวเตอร์มาใช้ในด้านการเรียนการสอน ได้แก่ มหาวิทยาลัย โรงเรียนต่างๆ และมีการเปิดสอนวิชาคอมพิวเตอร์กันอย่างแพร่หลาย

โครงสร้างของระบบ คอมพิวเตอร์

องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

 อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยองค์ประกอบดังนี้
        1.ฮาร์ดแวร์
        2.ซอฟแวร์
        3.บุคลากรคอมพิวเตอร์
        4.ข้อมูล

ฮาร์ดแวร์



         ฮาร์ดแวร์ หมายถึง อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่าง ๆ ตามลักษณะงาน คือ
            หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
            หน่วยความจำหลัก (Memory Unit)
            หน่วยประมลผลกลาง (Central Processing Unit : CPI)
            หน่วยแสดงผล (Output Unit)

            หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)  หน่วยประมวลผลกลางเป็นศูนย์กลางการประมวลผลของทั้งระบบเปรียบเสมือนกองบัญชาการ หรือ ส่วนของศีรษะของมนุษย์ที่มีผู้บัญชาการ หรือสมองอยู่ภายใน
           ภายในหน่วยประมวลผลกลาง จะเป็นการทำงานประสานกันระหว่าง 2  ส่วนหลัก คือ   
              1. ส่วนควบคุม (Control Unit)
              2. ส่วนคำนวณและเปรียบเทียบข้อมูล (Arithmetic and Logical Unit or ALU)

            ส่วนคำนวณและเปรียบเทียบข้อมูล (Artimetic and Logic Unit : ALU) ทำหน้าที่คำนวณและเปรียบเทียบข้อมูล โดยอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์และตรรกศาสตร์ ตามลำดับการประมวลผลด้วยหลักการทางคณิตศาสตร์คือการคำนวณที่ต้องกระทำกับข้อมูลประเภทตัวเลข เช่น การบวก ลบ คูณ หาร ฯลฯ ให้ผลลัพธ์ที่หลากหลาย แต่การประมวลผลด้วยหลักตรรกศาสตร์ คือ การเปรียบเทียบข้อมูลที่กระทำกับข้อมูลตัวอักษร สัญลักษณ์หรือตัวเลข ให้ผลลัพธ์เพียงสองสภาวะ เช่น 0-1, ถูก-ผิด หรือจริง-เท็จ เป็นต้น คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง มักมีส่วนคำนวณและเปรียบเทียบ (ALU) มากกว่าหนึ่งชุด ซึ่งมักพบในเครื่องที่มีกาประมวลผลแบบ Multi-Processing (ประมวลผลงานเดียว โดยอาศัยตัวประมวลผลหลายตัว)

            หน่วยความจำหลัก (Main Memory หรือ Primary Storage) หน่วยความจำหลักเป็นส่วนความจำพื้นฐานในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง เป็นหัวใจของการทำงานในรูปแบบอัตโนมัติ มีหน้าที่เก็บข้อมูลต่าง ๆ ที่ป้อนเข้ามาเพื่อให้ส่วนประมวลผลนำไปใช้ และเก็บข้อมูลที่เกี่ยวกับคุณสมบัติกและระบบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์

            หน่วยความจำหลักประกอบด้วย
               1.หน่วยความจำแบบถาวร (Read Only Memory – ROM)
               2.หน่วยความจำชั่วคราว (Random Access Memory – RAM)

            หน่วยแสดงแผล (Output Unit) หน่วยแสดงผลเป็น่วนที่แสดงข้อมูลสู่มนุษย์ เป็นตัวกลางการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์กับมนุษย์ เราเรียกเครื่องมือในส่วนนี้ว่า อุปกรณ์แสดงผล (Output Device)
อุปกรณ์แสดงผลสามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท ตามลักษณะของข้อมูลที่แสดงออกมาสู่ผู้ใช้ ได้แก่
     
 ซอฟต์แวร์            การแบ่งประเภทของซอฟท์แวร์

 

               ความหมายของซอฟต์แวร์ หมายถึง ส่วนที่มนุษย์สัมผัสไม่ได้โดยตรง (นามธรรม) เป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานซอฟแวร์จึงเป็นเหมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ และเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์เราก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นซอฟต์แวร์ เพราะเป็นลำดับขั้นตอนการทำงานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งทำงานแตกต่างกันได้มากมายด้วยซอฟต์แวร์ที่แตกต่างกัน ซอฟต์แวร์จึงหมายถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกประเภทที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้
            ในบรรดาซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีผู้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานกับคอมพิวเตอร์มีมากมาย ซอฟาต์แวร์เหล่านี้อาจได้รับการพัฒนาโดยผู้ใช้งานเอง หรือผู้พัฒนาระบบ หรือผู้ผลิตจำหน่ายหากแบ่งแยกชนิดของซอฟต์แวร์ตามสภาพการทำงาน พอแบ่งแยกชอฟต์แวร์ได้เป็นสองประเภท คือ
    1.ซอฟต์แวร์สำหรับระบบ (System Software)
    2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)

          ซอฟต์แวร์ระบบ คือ ซอฟแวร์ที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบคือดำเนินงานพื้นฐานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น
          ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)  คือ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่าง ๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นด้านเอกสาร บัญชี การจัดเก็บข้อมูล เป็นต้น ซอฟต์แวร์ประยุกต์ สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ 

 บุคลากรคอมพิวเตอร์
          บุคลากร  ได้แก่บุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย
1.    นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ
2.    นักเขียนโปรแกรมระบบ
3.    นักเขียนโปรแกรม
4.    ผู้จัดการฐานข้อมูล
5.    ผู้ปฏับัติการ
6.    ผู้ใช้

 ข้อมูล 
 
          องค์ประกอบทางด้านข้อมูล (Data)  เป็นข้อมูลที่จะต้องป้อนเข้าสู่คอมพิวเตอร์พร้อมกับโปรแกรมที่นักคอมพิวเตอร์ได้เขียนขึ้น เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการออกมาข้อมูลต้องเป็นข้อมูลที่มีความถูกต้อง จึงจะได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องออกมา ข้อมูลเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในระบบคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งที่ต้องป้อนเข้าไปในคอมพิวเตอร์ พร้อมกับโปรแกรมที่นักคอมพิวเตอร์เขียนขึ้นเพื่อผลิตผลลัพธ์ที่ต้องการออกมา

    ข้อมูลที่สามารถนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ มี 5 ประเภทคือ
        1.ข้อมูลตัวเลข (Numeric Data)
        2.ข้อมูลตัวอักษร (Text Data)
        3.ข้อมูลเสียง (Audio Data)
        4.ข้อมูลภาพ (Images Data)
        5.ข้อมูลภาพเคลื่อนไหว (Video Data)

CPU หน่วยประมวลผลกลาง

หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)
             
                หน่วยประมวลผลกลาง หรือไมโครโพรเซสเซอร์ของไมโครคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่นำคำสั่งและข้อมูลที่เก็บไว้ใน หน่วยความจำมาแปลความหมาย และกระทำตามคำสั่งพื้นฐานของไมโครโพรเซสเซอร์ ซึ่งแทนด้วยรหัสเลขฐานสอง 
                  



             การทำงานของคอมพิวเตอร์ ใช้หลักการเก็บคำสั่งไว้ที่หน่วยความจำ ซีพียูอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำมาแปล ความหมาย และกระทำตามเรียงกันไปทีละคำสั่ง หน้าที่หลักของซีพียู คือควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ ตลอดจนทำการประมวลผล
            กลไกการทำงานของซีพียู มีความสลับซับซ้อน ผู้พัฒนาซีพียูได้สร้างกลไกให้ทำงานได้ดีขึ้น       โดยแบ่งการทำงาน เป็นส่วน ๆ มีการทำงานแบบขนาน และทำงานเหลื่อมกันเพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้น 


         การพัฒนาซีพียูก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และถูกพัฒนาให้อยู่ในรูปไมโครชิบที่เรียกว่าไมโครโพรเซสเซอร์ ไมโครโพรเซสเซอร์จึงเป็นหัวใจหลักของระบบคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ถึงไมโครคอมพิวเตอร์ ล้วนแล้วแต่ใช้ไมโครชิปเป็นซีพียูหลัก ในเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ เช่น ES9000 ของบริษัทไอบีเอ็มก็ใช้ไมโครชิปเป็น ซีพียู แต่อาจจะมีมากกว่าหนึ่งชิปประกอบรวมเป็นซีพียู
            
       เทคโนโลยีไมโครโพรเซสเซอร์ได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยเริ่มจากปี พ.ศ. 2518 บริษัทอินเทลได้พัฒนา ไมโครโพรเซสเซอร์ที่เป็นที่รู้จักกันดีคือ ไมโครโพรเซสเซอร์เบอร์ 8080 ซึ่งเป็นซีพียูขนาด 8 บิต ซีพียูรุ่นนี้จะรับข้อมูล เข้ามาประมวลผลด้วยตัวเลขฐานสองครั้งละ 8 บิต และทำงานภายใต้ระบบปฎิบัติการซีพีเอ็ม (CP/M) ต่อมาบริษัทแอปเปิ้ล ก็เลือก ซีพียู 6502 ของบริษัทมอสเทคมาผลิตเป็นเครื่องแอปเปิ้ลทู ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในยุคนั้น


         เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยส่วนมากเป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ซีพียูของตระกูลอินเทลที่พัฒนามาจาก 8088 8086 80286 80386 80486 และเพนเตียม ตามลำดับ
         การพัฒนาซีพียูตระกูลนี้เริ่มจาก ซีพียูเบอร์ 8088 ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2524 มีการพัฒนาเป็นซีพียูแบบ 16 บิต ที่มีการรับข้อมูลจากภายนอกทีละ 8 บิต แต่การประมวลผลบวกลบคูณหารภายในจะกระทำทีละ 16 บิต บริษัทไอบีเอ็ม เลือกซีพียูตัวนี้เพราะอุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ ในสมัยนั้นยังเป็นระบบ 8 บิต คอมพิวเตอร์รุ่นซีพียู 8088 แบบ 16 บิตนี้ เรียกว่า พีซี และเป็นพีซีรุ่นแรก 

ประกอบด้วยส่วนใหญ่ ๆ 2 ส่วน คือ หน่วยคำนวณ และ หน่วยควบคุม

1.หน่วยควบคุม (Arithmetic and logic unit) 
             ทำหน้าที่ควบคุมการทำงาน ควบคุมการเขียนอ่านข้อมูลระหว่างหน่วยความจำของซีพียู ควบคุมกลไกการทำงาน ทั้งหมดของระบบ ควบคุมจังหวะเวลา โดยมีสัญญาณนาฬิกา เป็นตัวกำหนดจังหวะการทำงาน 
2. หน่วยคำนวน (Control Unit)
             เป็นหน่วยที่มีหน้าที่นำเอาข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสองมาประมวลผลทางคณิตศาสตร์ และตรรกะ เช่น
             การบวก การลบ การเปรียบเทียบ และ การสลับตัวเลข เป็นต้นการคำนวณทำได้เร็วตามจังหวะการควบคุมของหน่วยควบคุม



คอมพิวเตอร์ทำงานผิดพลาด ได้หรือไม่


คอมพิวเตอร์ทำงานผิดพลาดได้หรือไม่

 สามารถเกิดได้จากสาเหตุใดบ้าง 


     ได้ เพราะ คอมพิวเตอร์สามารถทำงานผิดพลาดได้ ในหลายรูปแบบ เช่น

   Harddisk ไม่ทำงาน
       สาเหตุอาจเกิดจาก
1. เกิดจากไม่มีไฟเลี้ยงตัว Mortor และวงจรควบคุมตัว Mortor
2. ตัวควบคุมการทำงาน (Controler) บนตัว Harddisk เสียหาย
3. สายบางเส้นที่ต่อจาก Harddisk กับตัวควบคุมบน Mainboard หลวม
หรือหลุดหรือเกิดสนิม
               
ไม่สามารถบูตเข้าสู่วินโดวส์ได้       
       ปัญหานี้เกิดจากบู๊ตเครื่องโดยมีแผ่นดิสก์ที่ไม่มี OS หรือระบบ
ปฎิบัติการอยู่ในไดร์ฟ ซึ่งขั้นตอนแก้ปัญหาก็ให้เอา แผ่นไดร์ฟ ออก
จากนั้นก็กดปุ่ม Enter เพียงเท่านี้ก็สามารถเข้าวินโดวส์ได้แล้ว


CD-ROM ทำแผ่นแตก 
          ซึ่งสาเหตุก็เป็นเพราะไดร์ฟ ที่ผลิตในปัจจุบันมีความเร็วสูง ทำให้
เมื่ออ่านแผ่นที่มีคุณภาพต่ำหรือแผ่นที่มีรอยขีดข่วนลึก ๆ ก็ทำให้เกิดสะดุด
เป็นผล ทำให้แผ่นแตก ซึ่งปัญหานี้เราจะไม่พบในไดร์ฟรุ่นเก่า ๆ เลย ทาง
แก้ก็คือหลีกเลี่ยงการใช้แผ่นที่มีคุณภาพต่ำ หรือแผ่นที่เป็นรอยมาก ๆ 

RAM หาย
         จะเกิดกับการใช้เมนบอร์ดรุ่นที่มี VGA on board  ที่จริงก็ไม่ได้หาย
ไปไหนหรอก เพียงแต่ส่วนหนึ่งของ RAM จะถูกนำไปใช้กับ VGA และ
ขนาดที่จะ โดนนำไปใช้ก็อาจจะ
เป็น 2M, 4M, 8M ไปจนถึง 
128M. ก็ได้

ขึ้นอยู่กับการตั้งใน BIOS 

CPU เสีย
        อาจจะเกิดขึ้นจากซีพียูซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิตค่อนข้างสูงภายในมีรายละเอียด ซับซ้อนโดยจะมีทรานซิสเตอร์ตัวเล็กๆ อยู่รวมกันนับล้านๆ ตัวทำให้หากมีปัญหาที่เกิดจากซีพียูแล้วโอกาสที่จะซ่อมแซมกลับคืนให้เป็น เหมือนเดิมนั้นเป็นไปไม่ได้เลย ช่างคอมพิวเตอร์เมื่อพบสาเหตุอาการเสียที่เกิดจากซีพียูแล้วก็ต้องเปลี่ยน ตัวใหม่สถานเดียว

Pipeline

             Pipeline คือ เทคนิคทำให้คำสั่งหลายๆ คำสั่งทำงานพร้อมๆ กัน แต่ละส่วนจะทำงานให้เสร็จในส่วนของมัน แต่ละส่วนจะทำงานต่างกัน แต่ละส่วนเรียกว่า "Pipe Stage" และแต่ละส่วนจะทำงานต่อเนื่องเป็นทอด ๆ เขาเลยเปรียบเทียบ pipeline กับสายพานเครื่องจักร เวลาที่ใช้เคลื่อนที่จากส่วนหนึ่ง (Pipe Stage) ไปยังอีกส่วนหนึ่ง เราเรียกว่า "Machine Cycle" เนืองจากทุกๆ ส่วนทำงานพร้อมกันดังนั้น ค่า Machine Cycle จะดูจากเวลาที่ใช้ใน Pipe Stage ที่ช้าที่สุด


   เป้าหมายสูงสุดของ Pipeline ก็คือ ต้องการให้ความยาวของ Pipeline แต่ละขั้นตอนเกิดความสมดุล    ถ้าขั้นตอนแต่ละขั้นตอนสมดุลกันแล้วเวลาที่ใช้ต่อ 1 คําสั่งใน Pipeline จะเท่ากับการใช้ Pipeline จะส่งผลทําให้เวลาการทํางานต่อคําสั่ง 1 คําสั่งลดลง

   ดังนั้น ถ้ามีจำนวน Pipeline เยอะๆ ก็จะช่วยให้การประมวลผลคำสั่งได้เร็วยิ่งขึ้นไงครับ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบ Pipeline และองค์ประกอบอื่นๆ ด้วยเพราะว่าคำอธิบายการทำงานมันก็เป็นแค่ทฤษฎี

   จริงๆ มันก็คือ การออกแบบขั้นตอนการประมวลต่อ 1 คำสั่งให้ใช้เวลาน้อยที่สุดจะได้ไม่เปลือง  Clock และถ้ามีหลายๆ Pipeline มันก็จะช่วยประมวลผลพร้อมๆ กัน ทำให้เพิ่มความเร็วในการประมวลได้  ไม่จำเป็นต้องเพิ่มความถี่สัญญาณนาฬิกา (Clock) ให้สูงเสมอไป

             pipeline จะแบ่งการทำงาน 1 งาน ออกเป็นงานย่อยแล้วทำพร้อมๆกัน เช่นการทำงานของ CPU แบ่งเป็นสมมติว่าแบ่งเป็น 5 ขั้นตอน
     1. อ่านคำสั่ง
     2. แปลคำสั่ง
     3. ประมวลผล
     4. อ่านข้อมูลจากหน่วยความจำ
    
     5. เขียนค่ากลับไปยังรีจิสเตอร์

          พออ่านคำสั่งที่ไปแล้วก็จะเริ่มแปลคำสั่งในขณะที่แปลคำสั่งก็อ่านคำสั่งต่อไปเลย  สมมุติว่าแต่ละงานใช้เวลาอย่างละ 1 วินาที ถ้าทำทีละอย่าง 1 คำสั่งจะใช้เวลา 5 วินาที แต่พอใช้ pipeline จะทำให้โดยรวมแล้ว(ไม่นับ 4 วินาทีแรก) ทำได้ 1 คำสั่งใน 1 วินาที ทีนี้มันมีปัญหาตรงที่ว่าการทำงานแต่ละงานบางครั้งมันไม่ได้ทำคำสั่งตามลำดับ 1 2 3 .. เช่นการเขียนโปรแกรมโดยใช้เงื่อนไข IF คือพอ pipeline ประมวลผลเสร็จสรุปได้ว่าต้องกระโดดไปทำงานที่คำสั่งอื่น แต่คำสั่งที่มันอ่านเข้ามาแล้วมันเป็นคำสั่ง ถัดไปซึ่งไม่ใช่คำสั่งที่ต้องการ (เพราะตอนที่อ่านเข้ามายังไม่รู้เลยว่าจะต้องกระโดดไปเนื่องจากคำสั่ง IF ที่เป็นเงื่อนไขยังทำงานไม่เสร็จ) ทีนี้ก็จะแก้ได้โดยการล้างท่อทิ้ง แล้วเริ่มอ่านคำสั่งที่ถูกต้อง(ที่จะใช้งาน) เข้ามาแทน ซึ่งจะทำให้เสียเวลามากขึ้นเพราะต้องไปเริ่มกระบวนการใหม่ (คือเริ่มตั้งแต่ 1 อ่านคำสั่ง สรุปแล้วจะมี 5 วินาทีที่ทำได้แค่คำสั่งเดียวเกิดขึ้นอีกครั้ง) ถ้ามีคำสั่งที่เป็นเงื่อนไขมากๆ การทำงานของ pipeline ก็จะลดประสิทธิภาพลงเพราะต้องกลับไปเริ่มกระบวนการใหม่ตั้งแต่ขั้นตอนที่ 1 ดังนั้น ก็เลยมีการแก้ปัญหานี้โดยการเพิ่มจำนวน pipeline ให้มากขึ้น เพื่อให้แต่ละ pipeline เดาว่าคำสั่งถัดไปน่าจะเป็นคำสั่งอะไรดีแล้วอ่านเข้ามาถ้าโชคดีก็จะมี pipeline สักอันนึงที่เดาถูกว่าคำสั่งถัดไปเป็นอะไร